“𝗢𝗳𝗳𝗶𝗰𝗲 𝗦𝘆𝗻𝗱𝗿𝗼𝗺𝗲” เป็นกลุ่มอาการที่ถูกเรียกโดย “คนไทย” ไม่มีบัญญัติในสารบบความรู้ทางการแพทย์ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานออฟฟิศ การนั่ง ใช้เม้าส์ ใช้คีย์บอร์ด มองจอคอมพิวเตอร์ ซ้ำๆเป็นเวลานานจากสถิติ คนไทยมีแนวโน้มภาวะนี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และพบมากในผู้ที่มีอายุน้อยลง
ในต่างชาติ Office Syndrome จัดอยู่ในกลุ่มอาการ “WMSDs”
WMSDs ย่อมาจาก Work-Related Musculoskeletal Disorders WMSDs คือการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากการทำงานใดๆก็ตาม ซ้ำๆ เป็นเวลานาน ยกเว้นอุบัติเหตุ ต้นเหตุ Office syndrome ที่พบได้บ่อย ได้แก่ นั่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน นั่งผิดท่า โต๊ะ เก้าอี้ หน้าจอไม่เข้ากับสรีระ สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ความเครียดจากงาน อาการ Office syndrome ที่พบบ่อยได้แก่ ปวด ตึง คอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง อาการอื่นๆที่พบร่วม ได้แก่ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว ปวดสะโพก ชามือ ชาเท้า แขนหรือขาอ่อนแรง นิ้วล็อค
แบ่งระดับความรุนแรงของอาการเป็น 3 ระดับ : ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นรุนแรง (ติดตามในcontentถัดไป)
โรคทางระบบอื่นๆที่อาจจะพบร่วมได้แก่ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรดไหลย้อน โรคอ้วน โรคนอนไม่หลับ โรคเกี่ยวข้องกับดวงตา
วิธีการรักษา : ทางยา การนวด กายภาพบำบัด ศาสตร์ทางเลือกอื่นๆ *ควรได้รับการตรวจประเมินและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ
วิธีการรักษาและป้องกัน Office syndrome ทางกายภาพบำบัด “เริ่มแก้ไขที่ต้นเหตุ” : ปรับพฤติกรรม เลือก/ปรับโต๊ะ เก้าอี้ ให้เข้ากับสรีระ ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ออกกำลังกาย
คนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นถึงความสำคัญในการรณรงค์ป้องกันมากเพียงพอ มักแก้ปัญหาตามหลังเมื่อเกิดอาการแล้ว ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก กายภาพบำบัดสามารถบรรเทาอาการปวดจาก Office Syndrom ได้ แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด : ขึ้นอยู่กับปัญหาแต่ละบุคคล ลดปวดโดย ลดการอักเสบ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เพื่มความยืดหยุ่น เพื่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ ปรับสมดุลของร่างกาย ให้คำแนะนำในการนั่ง ปรับสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมให้เหมาะสม
ติดตามแนวทางการรักษาได้ในบทความต่อไป
หากใครกำลังมีอาการ Office Syndrome เรายินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำ